เหรียญหล่อนางกวักโภคทรัพย์ เนื้ออัลปาก้า หลวงปู่แสง ญาณวโร
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มุทิตา | |||||||||||||||
โดย
|
Muthita | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเกจิทั่วไป | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญหล่อนางกวักโภคทรัพย์ เนื้ออัลปาก้า หลวงปู่แสง ญาณวโร |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
#เหรียญหล่อนางกวักโภคทรัพย์ เนื้ออัลปาก้า หลวงปู่แสง ญาณวโร หมายเลขประจำองค์ ๘๑ #เทพีผู้บันดาลความมั่งคั่งให้เจริญด้วยทรัพย์สินเงินทอง #พูดกันปากต่อปากใครได้ไปบูชาค้าขายดีขึ้นทันที เหรียญหล่อนางกวักโภคทรัพย์ แม่นางกวัก มหาเทพีผู้บันดาลความมั่งคั่ง ให้เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน และเงินทอง แม่นางกวักเป็นนารีเทพสายมู ที่คนไทยนิยมบูชา อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา บันดาลให้พ่อค้า แม่ขาย ร่ำรวยเป็นเศรษฐีกันมามากนักต่อนัก แม่นางกวัก มีฤทธิ์ในด้านกวักเงิน กวักทอง กวักโชค กวักลาภ เรียกเงินเรียกทองให้ไหลมาเทมา และเป็นมหาเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้เจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าการขาย เหรียญหล่อแม่นางกวักโภคทรัพย์ สร้างด้วยกรรมวิธีหล่อโบราณ เป็นเหรียญทรงเสมา ขนาดเล็ก กำลังห้อยคอ ด้านหน้ามือขวาแม่นางกวัก กวักเรียกทรัพย์ มือซ้ายถือถุงเงินรับทรัพย์ ส่วนด้านหลังเป็นถุงเงินเก็บทรัพย์ใบใหญ่ ล้อมด้วยยันต์ นะ ชา ลี ติ ซึ่งเป็นคาถามหาลาภของพระสิวลี ปากถุงเงิน เป็นยันต์ตัวพุทธ (ยันต์เฉพาะหลวงปู่แสง) หลอมรวมชนวนมวลสารสำคัญ ชนวนพระกริ่งล่ำซำ (ผสมใส่ในเนื้อทองเหลือง) ชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์ (ผสมใส่ในเนื้อทองเหลือง) ชนวนเหรียญหล่อแสงจันทร์ (ผสมใส่ในเนื้อทองเหลือง) แผ่นยันต์ทองคำจารมือหลวงปู่แสง (ผสมใส่ในเนื้อทองคำ) แผ่นยันต์เงินจารมือหลวงปู่แสง (ผสมในเนื้อเงิน) ก้านชนวนเนื้อทองคำ กับก้านชนวนเนื้อเงิน ใส่เพิ่มเข้าไปในเนื้อทองเหลืองกับเนื้ออัลปาก้า ก้อนโลหะเก่าหลวงปู่มอบให้ในครั้งบูรณะเจดีย์สำเร็จ (หล่อเป็นเนื้อชนวนล้วน) เหรียญหล่อนางกวักโภคทรัพย์เนื้อทองเหลือง ได้ใช้ทองเหลืองนอกจากประเทศออสเตรเลียเป็น ทองเหลืองเม็ดที่มีค่าความบริสุทธิ์ถึง 99.9% เมื่อนำมาหลอมทำให้เหรียญมีน้ำหนัก และ วรรณนะของผิวสวยงามดุจทองคำ หลวงปู่แสง ญาณวโร (จันดะโชโต) ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตบรรจุพลังเหรียญหล่อโภคทรัพย์ ให้มีฤทธิ์เต็มกำลัง ทั้งแม่นางกวักได้รับรู้ และ ผู้บูชาสื่อถึงได้ง่าย ในวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2566 จำนวนการสร้าง 1.เนื้อทองคำ 6 เหรียญ 2.เนื้อชนวน 14 เหรียญ 3.เนื้อเงิน 32 เหรียญ 4.เนื้ออัลปาก้า 112 เหรียญ 5.เนื้อทองเหลือง 1,518 เหรียญ ทำไมบางคนขยันทำงานมาทั้งชีวิต แต่ก็ไม่รวยสักที ชีวิตก็ยังยากลำบาก บุญก็ทำ กรรมก็ไม่ได้ก่อ แต่ทำเท่าไหร่ก็ไม่ประสพความสำเร็จ จะดีก็ไม่ดี ทำอะไรก็ติดขัดอยู่ตลอด ชะตาชีวิตใครที่เป็นอย่างนี้ เหรียญแม่นางกวักโภคทรัพย์ช่วยได้ ให้บูชาเหรียญโภคทรัพย์ติดตัว การงานจะไหลลื่น ผู้คนจะหลั่งไหลมาอุดหนุน ขอให้ผู้บูชาทำมาหากินที่ไม่ผิดต่อศิลธรรม ให้ตั้งใจทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ชีวิตจะมั่งคั่งและมั่งมี จะประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ เคล็ดบูชานางกวักโภคทรัพย์ ก่อนที่นำเหรียญนางกวักโภคทรัพย์ขึ้นคอบูชาในครั้งแรก ให้จุดธูป 9 ดอก ท่องนะโม 3 จบ แล้วตามด้วยคาถาหลวงปู่แสง (พุทธะกันตัง ธัมมะกันตัง สังฆะกันจิต 1 จบ ) แล้วท่องคาถาบูชาพระแม่นางกวัก เอหิจิตตัง มหาลาภัง ปิยัง มะมะ มามา ( 1 จบ ) แล้วให้ตั้งจิตอธิษฐานกล่าวว่า “ข้าพเจ้า ชื่อ……. สกุล…………. น้อมนับถือแม่นางกวัก เสมือนแม่ทางโลกทิพย์ ขอแม่นางกวัก ช่วยลูกคนนี้ให้ทำมาค้าขึ้น ให้เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สินและเงินทอง มหาลาภัง มามะ มามา สาธุ สาธุ สาธุ…” ”นางกวัก“ ตั้งแต่ก่อนทศวรรษ 2530 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในกลุ่มให้โชคลาภและความมั่งคั่งร่ำรวยที่คนไทยนิยมมากที่สุดเห็นจะเป็น “นางกวัก” แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ชื่อจริง ๆ ของนางกวักคือ นางสุภาวดี เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่ในพุทธประวัติเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สตรีท่านนี้มาเกี่ยวข้องกับการ “กวัก” เรียกเงินทอง โชคลาภ และความมั่งคั่งได้อย่างไร? ก่อนอื่นต้องชี้แจงเสียหน่อยว่า เหตุใดเรื่องของความร่ำรวยที่ดูเหมือนจะมีพื้นฐานมาจากความอยากได้อยากมี จึงไม่ใช่สิ่งต้องห้ามในพุทธศาสนา ก็ในเมื่อเรื่องเล่าของ “นางกวัก” ที่เกี่ยวกับการเรียกเงินทองในการทำมาค้าขายยังเป็นส่วนหนึ่งของพุทธประวัติ นั่นเพราะอันที่จริงพระพุทธเจ้าเองไม่เคยกล่าวว่า “กำไร” เป็นอวิชชาแต่อย่างใด การมีโชคลาภและเพิ่มพูนเงินตราจึงไม่ใช่สิ่งผิดแปลกจากหลักศาสนา หากกระทำโดยสุจริต ดังจะเห็นการบูชาในพุทธศาสนาแบบเถรวาทเองยังกลายเป็นสินค้าหรือเครื่องผลิตโภคทรัพย์ได้ ชี้ให้เห็นว่า ศาสนาพุทธมิได้ปิดกั้นการแสวงหาความร่ำรวยระหว่างที่มุ่งสู่นิพพาน แม้แต่ศีลและพรยังเน้นเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีและความ “ร่ำรวย” อันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุขของชาวพุทธ ตำนานพุทธศาสนาจึงมีเรื่องราวของพระสาวกผู้เกี่ยวข้อง หรือมีพุทธคุณเรื่องการส่งเสริมเรื่องการทำมาค้าขายและความร่ำรวย ซึ่งเรื่องเล่าหลัก ๆ ที่แพร่หลายกันมานานในสังคมไทยคือ ตำนานพระอรหันต์นามว่า พระสีวลี กับ นางกวัก นี่เอง นางสุภาวดี เป็นธิดารูปงามของครอบครัววรรณะพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง พวกเขามีอาชีพเร่ขายสินค้าตามชนบททางเหนือของอินเดีย ระหว่างขับเกวียนอยู่นั้น นางสุภาวดีผู้เคยฟังเรื่องราวของและทราบกิตติคุณของพุทธสาวกหลาย ๆ รูป ได้สวดอ้อนวอนขอให้ตนและครอบครัวพบพระอรหันต์นามว่า “พระกัสสะปะ” ระหว่างการเดินทาง และก็สมดังปรารถนา นางและครอบครัวได้พบและสดับฟังเทศนาธรรมจากพระกัสสะปะ จึงถวายตัวเป็นพุทธมามกะแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านับแต่นั้น ที่สำคัญคือ ก่อนจะกล่าวลา พระกัสสะปะยังให้พรแก่นางสุภาวดีบุตรีพราหมณ์ว่า “ขอให้คิดสิ่งใดก็สมปรารถนา การค้าประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองมากไปด้วยทรัพย์ศฤงคาร เงิน ทอง” ในเวลาต่อมา ครอบครัวพราหมณ์ยังได้พบ พระสีวลี พระอรหันต์ผู้โดดเด่นเรื่องการดลบันดาลโชคลาภโดยตรง ดังปรากฏในพุทธประวัติว่า ท่านเป็นพระสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้า และเคยอยู่ในครรภ์มารดานานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ก่อนกาลกำเนิด ซึ่งเลข 7 ถือเป็น “เลขมหามงคล” ในพระพุทธศาสนา พระสีวลีเองได้ประทานพรให้ครอบครัวพราหมณ์เหมือนพระกัสสะปะ ทำให้อานุภาพเรื่องการทำมาค้าขายของครอบครัวนี้เพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก ครอบครัวของนางสุภาวดีจึงประสบพบเจอแต่ความรุ่งเรืองด้านการค้าจนมีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เชื่อได้ว่าครอบครัวนี้มั่งคั่งด้วยพรอันประเสริฐของพระอรหันต์ทั้ง 2 รูป โดยมีจุดเริ่มต้นคือ นางสุภาวดี ผู้อธิษฐานจิตถึงพระอรหันต์นั่นเอง จึงเกิดเป็นรูปเคารพของนางสุภาวดี ในท่านางกวัก เป็นรูปผู้หญิงส่งยิ้ม ดวงตาดำขลับ หน้าตาละม้ายคล้ายสตรีชาวอินเดีย ในท่านั่งคุกเข่าแบบเทพธิดา พร้อมยกมือขวาทำท่ากวักมือเรียกผู้คน ภาพลักษณ์ดังกล่าวกลายเป็นสัญลักษณ์หรือ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” สำคัญประจำกิจการร้านรวงต่าง ๆ ของพ่อค้าแม่ขาย เพื่อใช้เป็นเครื่องรางของขลังส่งเสริมด้านการค้าขาย เราจึงมักเห็น “นางกวัก” อยู่บนหิ้งบูชาบนผนังร้านค้าและร้านอาหารทั่วไป |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0811866147 | |||||||||||||||
ID LINE
|
aronin | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
82 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงไทย / 322162642xx-x
|
|||||||||||||||
|