ร้าน มุทิตา
www.muthita.99wat.com
0811866147 _ อีเมล์ : suwat-7@hotmail.com
aronin

“มุทิตา” ความเป็นผู้มีใจชื่นชมยินดีในเมื่อผู้อื่นได้ดีหรือได้รับความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในใจเองโดยมิได้บังคับ เกิดขึ้นเพราะจิตใจปราศจากความอิจฉาริษยา เกิดขึ้นเพราะเป็นผู้มีปกติ ยอมรับในผลสำเร็จหรือความดีของคนอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกเป็นคำเต็มได้ว่า “มุทิตาจิต”

 
เหรียญพระครูศรีสุตาภรณ์ (สี พุทธสาโร) เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๑๘ เนื้อเงิน


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
มุทิตา
โดย
Muthita
ประเภทพระเครื่อง
พระเกจิทั่วไป
ชื่อพระ
เหรียญพระครูศรีสุตาภรณ์ (สี พุทธสาโร) เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๑๘ เนื้อเงิน
รายละเอียด
เหรียญพระครูศรีสุตาภรณ์ (สี พุทธสาโร) เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๑๘ เนื้อเงิน

ประวัติโดยสังเขปพระครูศรีสุตาภรณ์
หลวงพ่อพระครูศรีสุตาภรณ์ (สี พุทธสาโร) มีนามเดิมว่า สี กำเนิดที่บ้านคูขาด ต.ศรีสุข อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เมื่อวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2437 (แรม 14 ค่ำ เดือนอ้าย) บิดาชื่อนายโกร่น ทองไทย มารดาชื่อ นางวรรณา ทองไทย มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 4
บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 18 ปี ที่วัดบ้านคูขาด 1 พรรษา แล้วลาสิกขาบท
เมื่ออายุ 19 ปี ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร 2 ปี
อายุ 21 ปี ได้อุปสมบทที่วัดบ้านคูขาด
พรรษาที่ 1 ถึง 3 จำพรรษาที่วัดธาตุเทิง
พรรษาที่ 4 จำพรรษาที่วัดบ้านแวง สำนักพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พรรษาที่ 5 จำพรรษาที่วัดภูผากูด ถ้ำคูหาวิเวก สำนักพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
พรรษาที่ 6 เป็นไข้ป่า กลับมารักษาตัว และจำพรรษาที่วัดบ้านคูขาด
พรรษาที่ 7 ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำพรรษาที่วัดยม บางปะอิน
พรรษาที่ 8 จำพรรษาที่วัดบ้านคูขาด รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสเรื่อยมา
พรรษาที่ 17 ได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ในสองเขตตำบล คือตำบลศรีสุข และตำบลยางขี้นก
พรรษาที่ 26 ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูชั้นประทวนที่ ?พระครูศรีสุตาภรณ์?
พรรษาที่ 37 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านคูขาด
พรรษาที่ 41 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในตำแหน่ง พระครูศรีสุตาภรณ์
ท่านเป็นผู้นำชาวบ้านในการพัฒนาวัด ชุมชน ตัดถนน และสร้างโรงเรียนประชาบาล 4 โรง ได้แก่โรงเรียนบ้านคูขาด (ศรีวิทยาคาร) , โรงเรียนบ้านโพนเมือง (สุขวิทยา) , โรงเรียนบ้านคำสมอ , โรงเรียนบ้านหนองเหล่า
พรรษาที่ 62 วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2519 เวลา 15.35 น. ท่านได้ละสังขารด้วยอาการสงบ สิริอายุ 82 ปี 62 พรรษา

#พระอุปัชฌาย์เเละพระมหาเถราจารย์ผู้อยู่เบื้องหลัง
เเละผู้ถ่ายทอดวิทยาคมเเละวิปัสสนาธุระเเก่หลวงปู่ผางเเละครูบาอาจารย์หลายรูป(ศิษย์สายหลวงปู่เราควรรู้จัก)
พ.ศ. ๒๔๘๗ บวชครั้งที่ ๒ ของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
หลังจากที่หลวงปู่ในเพศฆราวาสได้บริจาคทาน วัว ควาย ไร่ นา บ้านเรือนให้แก่ผู้อื่นจนหมดสิ้นแล้ว ก็หมดห่วงและได้หันหน้าเข้าหาพระธรรม ดังนั้นประมาณปีพ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่ออายุได้ราว ๔๒ ปี จึงได้ชวนนางจันดีผู้เป็นภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ส่วนหลวงปู่ได้เข้าอุปสมบทในฝ่ายมหานิกาย ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ไม่ปรากฏ ท่านได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า "จิตฺตคุตฺโต" อันมีความหมายว่า ผู้คุ้มครองจิตดีแล้ว นับเป็นการบวชครั้งที่สองของหลวงปู่
ตามประวัติของพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) ที่พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานพิธีฌาปนกิจศพของท่าน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๐ นั้น ได้ระบุว่า ท่านพระครูศรีฯ ได้เคยไปศึกษาปฏิบัติทางฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในสำนักพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ ณ สำนักวัดบ้านแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในปีพ.ศ. ๒๔๖๑ และในพรรษาต่อมา ท่านได้ไปศึกษาปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระ กับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลมหาเถระ ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดภูผากูด ถ้ำคูหาวิเวก จังหวัดสกลนคร แต่ในพรรษาถัดมาท่านเกิดอาพาธด้วยโรคไข้ป่า จึงกลับมารักษาตัวและจำพรรษาที่วัดบ้านคูขาด

ซึ่งแสดงว่าท่านพระครูศรีสุตตาภรณ์ นั้นเป็นศิษย์ยุคต้นๆ สายมหานิกาย ของท่านพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ดังนั้นเมื่อท่านได้ทำการอุปสมบทให้กับพระภิกษุผางแล้ว ท่านก็อยากจะให้พระภิกษุผางได้เข้าศึกษาและปฏิบัติพระกรรมฐานตามแบบอย่างที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ และ พระอาจารย์มั่นในครั้งก่อน

แต่ท่านก็ทราบดีว่าการจะเข้าศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ไม่ใช่นึกอยากจะเข้าไปกราบขอถวายตัวเข้าเป็นศิษย์นั้นก็จะทำได้ตามใจชอบ เพราะท่านพระอาจารย์มั่นท่านเคร่งครัดเรื่องการคัดเลือกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเป็นศิษย์ของท่าน ก็ต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเป็นอย่างดีเสียก่อน

ในพรรษาแรกของหลวงปู่ผางท่านจำพรรษาที่วัดคูขาด โดยท่านพระครูศรีสุตตาภรณ์ได้อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นเบื้องต้น ประจวบเหมาะกับในปีนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ท่านพำนักอยู่ที่จังหวัดอุบล เกิดอาพาธหนัก ถึงขนาดฉันอาหารไม่ได้ ต้องถวายอาหารทางเส้นเลือด ท่านจึงเรียกพระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าไปปรึกษาหารือเพื่อหาทางบำบัดโรคในทางธรรมปฏิบัติ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จฯ จึงได้มาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่ออุปัฏฐากสมเด็จฯ โดยได้พำนักอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ ปีนั้นเป็นปีเดียวกับที่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล น้องชายของท่านซึ่งได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ที่จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ ๕ พรรษา ได้กลับมาจังหวัดอุบลฯ เนื่องจากอาพาธด้วยโรคปอด รักษาไม่ทุเลา จึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิด

พ.ศ. ๒๔๘๗ ไปศึกษาและปฏิบัติธรรม
กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

เมื่อพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) ได้พิจารณาดังนั้นแล้ว เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงได้แนะนำให้พระภิกษุผางไปศึกษาและปฏิบัติธรรม กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์สมิทธีราจารย์) และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดธรรมยุติกนิกาย

พ.ศ. ๒๔๘๘ ญัตติเป็นธรรมยุต

เมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ได้รับพระภิกษุผางไว้ในสำนักแล้ว ท่านก็เห็นว่าเพื่อความสะดวกในการที่พระภิกษุผางซึ่งเป็นพระมหานิกาย จะประกอบสังฆกรรมกับหมู่คณะจึงดำเนินการให้พระภิกษุผางญัตติเป็นธรรมยุต ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ ณ วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูพินิจศีลคุณ (พระมหาอ่อน) เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อหลวงปู่ผางได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านก็เข้ารับการอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ ต่อไป

ต่อมาพระมหาปิ่น ที่ได้อาพาธด้วยโรคปอด เมื่อกลับจากจังหวัดปราจีนบุรี มาอยู่ที่อุบลฯ รักษาอยู่ ๒ พรรษา ไม่หายและได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อจัดการงานศพพระมหาปิ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

ก่อนที่ท่านพระอาจารย์สิงห์จะออกจากวัดป่าแสนสำราญ ไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมาที่ท่านสร้างขึ้นนั้น ท่านได้แนะนำให้พระภิกษุผางไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน ดังนั้นพระภิกษุผาง จึงประสงค์จะไปรับโอวาทธรรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งขณะนั้น พำนักอยู่ ณ เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ (ปัจจุบันคือ "วัดป่าภูริทัตตถิราวาส" อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร)
วัตถุมงคลของท่านล้วนมีประสบการณ์มากมาย ทั้งเเคล้วคาดปลอดภัย กันคุณไสยเสนียจัญไรเมตตามหานิยม เเละอีกมากๆ
ราคา
-
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0811866147
ID LINE
aronin
จำนวนการเข้าชม
323 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารกรุงไทย / 322162642xx-x